ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ประวัติศาสตร์มาจากภาษาอังกฤษ History ซึ่งมาจากภาษากรีก ว่า Historia แปลว่า การสืบสวน สอบสวนโดยผู้ที่ประดิษฐ์คำดังกล่าวคือ Herodotus ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 2,000 ปี ที่ผ่านมา คนไทยในอดีตเรียกลักษณะการศึกษาเรื่องราวของอดีตว่าตำนาน และพงศาวดาร ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) ได้ทรงเริ่มเรียกการศึกษาเรื่องของอดีตดังกล่าว ว่า “ประวัติศาสตร์”

ลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์ 

โดยความเข้าใจทั่วไป ประวัติศาสตร์คือเรื่องของอดีต หรือเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ความเข้าใจดังกล่าวยังมิได้ครอบคลุมลักษณะสำคัญของคำว่า ประวัติศาสตร์ ไว้ได้ทั้งหมด  อาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์มีลักษณะดังนี้

  • การศึกษาประวัติศาสตร์ คือ การศึกษา อดีต อดีตของประวัติศาสตร์ เป็น

อดีตของมนุษย์ โดยมุ่งตอบคำถามว่า มนุษย์มีกำเนิดมาอย่างไร ทำอะไรไว้บ้าง และเพราะอะไรจึงทำเช่นนั้น  อดีตของประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องกับอดีตของมนุษย์จำนวนมาก แต่ถ้าเป็นคนจำนวนน้อย ต้องสามารถเป็น ตัวแทนของคนจำนวนมากได้ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์  ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงสังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมเด่นชัดขึ้น  ความพยายามที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมโดยสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure) อาทิ ระบบไฟฟ้า ถนน เขื่อน สะพาน รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวไทยโดยเฉพาะคนอีสาน ที่มุ่งผลิตพืชเศรษฐกิจนอกจากการทำนาเพียงอย่างเดียว เพื่อให้สอดคล้องกับคำขวัญในขณะนั้นว่า “ งานคือเงิน  เงินคืองาน  บันดาลสุข ”  การทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อคนจำนวนมากดังกล่าว จึงทำให้การศึกษาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพียงคนเดียวเป็นงานประวัติศาสตร์ได้

         ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของมิติเวลา ประวัติศาสตร์คือการศึกษาอดีตของสังคมมนุษย์ในมิติของDSCF9563เวลา มิติเวลา ณ ที่นี้คือช่วงเหตุการณ์หนึ่งที่แตกต่างไปจากช่วง เหตุการณ์อื่น แล้วจึงให้เวลากับจุดเริ่มต้นเหตุการณ์และเมื่อเหตุการณ์จบลง ดังเช่น  ถ้าถามคำถามว่าเมืองมหาสารคามซึ่งตั้งขึ้นในปี  พ.ศ. 2408 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการขยายตัวอย่างไร  อาจตอบได้ว่าเมืองมหาสารคามมีการขยายตัวตามมิติเวลา 4 ช่วงดังนี้ ช่วงแรกการขยายตัวโดยเจ้าเมืองมหาสารคาม ซึ่งมี 3 คน คือ พระเจริญราชเดช(กวด)  พระเจริญราชเดช(ฮึง) และพระเจริญราชเดช ( อุ่น )  ผู้คนชาวเมืองได้อาศัยอยู่บริเวณใกล้ ๆกับโฮง (บ้าน) เจ้าเมือง ช่วงที่สอง เมื่อทางราชการได้ยุบระบบกินเมืองได้ตั้งกระทรวงมหาดไทยและได้ส่งผู้ว่าราชการเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมาแทนเจ้าเมือง  สถานที่ราชการได้จัดสร้างขึ้นแทนโฮงเจ้าเมือง ผู้คนได้เริ่มขยายตัวไปตามสถานที่ราชการต่างๆ ช่วงที่สาม เมื่อสถาบันการศึกษาได้สร้างขึ้นทั้งวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาสารคาม )โดยเฉพาะวิทยาลัยวิชาการศึกษา ( ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) มีผลให้ผู้คนเริ่มขยายตัวมาทางตะวันตกของเมืองบริเวณใกล้ ๆ สถาบันทั้งสองแห่ง  และช่วงปัจจุบันได้มีการขยายตัวของการลงทุนจาก  นักธุรกิจตามเส้นทางต่าง ๆ ของเมือง   เมื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ช่วงดังกล่าวจึงแทนด้วยเวลาในจุดเริ่มต้นและจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในช่วงแรกเมืองมหาสารคามตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2408 และได้มีการยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในปี พ.ศ. 2455 ดังนั้นมิติเวลาช่วงแรกของเมืองมหาสาคามคือ พ.ศ. 2408-2455  ช่วงที่สอง

2455-2510 (ถึงการตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา)  ช่วงที่สาม 2510-2525 (เริ่มมีการขยายการลงทุนของนักธุรกิจ ) ช่วงที่สี่ 2525-ปัจจุบัน      ประวัติศาสตร์ม่มีจุดมุ่งหมายหาทฤษฎี การเข้าใจอดีตของสังคมมนุษย์ คือ การศึกษาว่า มนุษย์ได้ทำอะไรบ้างเกิดอะไรขึ้นบ้าง  เพราะเหตุใด และเป็นอย่างไร  ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องของ การบรรยาย และอธิบาย การบรรยายคือการตอบคำถาม ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร  ส่วนการอธิบายคือการตอบคำถาม ทำไม อย่างไร  โดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่าประวัติศาสตร์คือการเล่าเรื่อง หรือเป็นการบรรยาย  แต่แท้ที่จริงประวัติศาสตร์ยังต้องการคำอธิบายอีกด้วย ซึ่งต้องถามว่าทำไม และอย่างไรกับเหตุการณ์ต่าง ๆ

  • ประวัติศาสตร์ใช้หลักฐานชั้นต้น (Primary sources) และหลักฐานชั้นรอง

(Secondary sources)ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ได้ใช้หลักฐานทั้งสองประเภท  แต่ประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญกับหลักฐานชั้นต้นมากกว่า  หลักฐานชั้นต้น หมายถึงหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้สร้างหลักฐาน หรือผู้พูด ผู้เขียน อยู่ในเหตุการณ์นั้น  ส่วนหลักฐานชั้นรองหมายถึงหลักฐานที่ผู้พูด ผู้เขียนหลักฐานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์แต่ได้ยินได้ฟังมา แล้วนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ทราบ

การสอบถามข้อมูลจากผู้รู้

การสอบถามข้อมูลจากผู้รู้

1 ตอบกลับที่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ใส่ความเห็น